รู้ก่อนพลาด ! เตรียมให้พร้อม ก่อนเปิดขายแฮลกอฮอล์ในร้านอาหาร
รู้ก่อนพลาด ! เตรียมให้พร้อม ก่อนเปิดขายแฮลกอฮอล์ในร้านอาหาร
คนทำร้านอาหารส่วนใหญ่หมายมั่นทำยอดขายสร้างกำไรกัน และสิ่งหนึ่งที่เกือบจะแยกกันไม่ออกเมื่อนึกถึงช่วงเทศกาลฉลองปลายปีคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มควบคุมตามกฎหมายดังนั้นหากร้านอาหารร้านใดจะมีจำหน่ายจะต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง เพราะหากไม่ขออนุญาตแล้วมีการตรวจพบร้านอาหารร้านนั้นมีสิทธิ์ถูกสั่งปิดได้ทันที ซึ่งรายละเอียดการขออนุญาตมีอะไรบ้าง ต้องติดต่อกับหน่วยงานไหน เรามีข้อมูลมาบอก
จะขายเหล้า ขายเบียร์ ร้านต้องมีทะเบียนพาณิชย์ก่อน
สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำ หากต้องการให้ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้คือ การจดทะเบียนพาณิชย์เนื่องจากการขายสุรา เบียร์ถือเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่ร้านบุคคลธรรมดาจะกระทำไม่ได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ประเภทร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ร้านตั้งอยู่แต่หากการทำร้านอาหารเป็นในรูปแบบนิติบุคคลอยู่แล้วจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทก็ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ในส่วนนี้
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์
- แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ทพ.) ดาวน์โหลดได้ในลิงค์นี้ : https://bit.ly/2VxaPMB
- สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)
- กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นเจ้าบ้าน ให้แสดงทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน เว้นแต่มิได้เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้ (1) หนังสือให้ ความยินยอมใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ หรือ (2) สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
-
แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
โดยใบอนุญาตที่จะขอเป็นใบอนุญาตเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ต่างจากการขอใบอนุญาตผู้ผลิตและนำเข้าแต่ก็ให้รู้กันว่า ใบอนุญาตมี 2 ประเภท เพื่อจำหน่าย และ เพื่อผลิตนำเข้า
แบบฟอร์มคำขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบบ สยพ.1 ดาวน์โหลดได้ในลิงค์นี้ : https://bit.ly/2AXG3CJ สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขออนุญาต หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่ กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า แผนที่ตั้งร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโซนนิ่ง หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
เมื่อยื่นคำขออนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการพิจารณาเอกสารและตรวจสอบโซนนิ่งหากทุกอย่างถูกต้องตามระเบียบก็จะออกใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปีซึ่งผู้ประกอบการจะต้องขอต่อใบอนุญาตปีต่อปี ข้อพึงระวังคือ เมื่อได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสุรามาแล้ว ประเภทของสุราที่จะจำหน่ายได้คือทุกยี่ห้อที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในประเทศไทย จะเป็นยี่ห้อคนไทยหรือนำเข้ามาผ่านการเสียภาษีติดแสตมป์ถูกต้องแล้วเท่านั้น ไม่สามารถจำหน่ายสุราที่ผลิตขึ้นเองได้ และไม่ว่าทางร้านจะมีเมนูใด ๆ ที่มีส่วนผสมของสุราหากสุราที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้นเป็นสุราได้รับอนุญาตก็สามารถทำได้ เช่น คอกเทล เป็นต้น ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการใดที่ประสงค์มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์จำหน่ายในร้าน ควรดำเนินการยื่นขออนุญาตแต่เนิ่น ๆ เผื่อมีประเด็นใดติดปัญหาจะได้มีเวลาแก้ไขทัน และอีกหนึ่งประเด็นที่จำเป็นหากร้านไหนต้องการจะมีวงดนตรีมาเล่นสด ๆ ด้วย หากร้านเปิดเกินเที่ยงคืน จะต้องยืนขออนุญาตประกอบกิจการสถานบริการเพราะเข้าข่ายตามกฎหมายกำหนด โดยในเขตกรุงเทพมหานครยื่นขออนุญาตที่สถานีตำรวจท้องที่ ที่สถานบริการตั้งอยู่ต่างจังหวัดยื่นขออนุญาตที่อำเภอท้องที่ ใช้เวลาในการพิจารณาอนุญาตประมาณ 10-15 วัน